วันอาทิตย์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คุณสมบัติของ OOP
1.ถาม: Inheritance คืออะไร
ตอบ: Inheritance คือหลักการสำคัญหนึ่งในสามหลักการของ OOP หลักการนี้ มีไว้เพื่อให้สามารถต่อยอดงานใหม่ จากงานเดิมที่เคยทำไว้แล้ว โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์
2.ถาม: Polymorphism คืออะไร
ตอบ: Polymorphism คือ การ inherit แล้วเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางอย่างของ base class โดยทำภายใน derived class จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ดใน base class
3.ถาม: Overloading คืออะไร
ตอบ: เมทธอดที่มีชื่อซ้ำกันในคลาส; ตัวแปรก็สามารถตั้งซ้ำกันได้ในโปรแกรม แต่ต้องอยู่กันคนละขอบเขต เป็นความสามารถของตัวแปรภาษา ที่จะตัวสอบ Signature ของ Function แล้วแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง
4.ถาม:Overriding คืออะไร
ตอบ: การแทนที่รายละเอียดการทำงานของคลาสแม่ ด้วยราลละเอียดการทำงานของคลาสลูก
5.ถาม: abstract class คืออะไร
ตอบ: class ที่ไม่ระบุรายละเอียดการทำงาน
6.ถาม: Abstract method คืออะไร
ตอบ: method ที่มีคำว่า ‘abstract’ อยู่หน้าชื่อ และมีเพียงชื่อของ method โดยไม่มีตัวโปรแกรม และหากคลาสใด มี method ใด method หนึ่งเป็น Abstract คลาสนั้นจะต้องเป็น Abstract ด้วย (เรียกว่า Abstract class) และต้องมี คำว่า ‘abstract’ อยู่หน้าชื่อคลาส ในตอนกำหนดคลาสด้วย มิฉะนั้นจะไม่ผ่านการคอมไพล์

คุณสมบัติของ OOP
คุณสมบัติของ OOPที่ผ่านมาเป็นการอธิบายแนวความคิด ของการเขียนโปรแกรมแบบ OOP คร่าวๆ ซึ่งการเขียนโปรแกรมแบบ OOP นั้นมีรายละเอียดมากกว่านี้ ๙ึ่งจะได้กล่าวในตอนต่อไป สำหรับคุณสมบัติที่สำคัญ ที่ต้องรู้ เทื่อเราจะเขียนโปรแกรมแบบ OOP มี 3 แระการดังนี้Encapsulation เป็นคุณสมบัติที่ว่า เราไม่จำเป็นต้องสนใจรายละเอียด ที่ไม่สมควรจะสนใจ เช่น เราเขียนโปรแกรมที่มีการใช้ Button เราก็ไม่ต้องไปสนใจ ภึงนั้นตอนการสร้าง Button ขึ้นมา หรือแม่กระทั่งขั้นตอนการใส่ชื่อ ให้กับ Button ว่ามีขั้นตอนการใส่อย่างไร พูดง่าย อย่าไปสนใจมันเลย เราเพียงแค่กำหนดคุณสมบัติให้มันก็เพียงพอแล้ว และใช้งานตามความสามารถทีมีเท่านั้นInheritance เป็นคุณสมบัตที่ว่า Class ต้องสามารถสืบทอด ได้เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรม ที่กำหนด เป็น Component ทั้งที่ มองเห็นและมองไม่เห็น ก็ต้องสืบทอดได้ โดย ดีไรฟว์คลาส ก็คือ Class ที่ถูกสืบทอดมา นั้น สามารถเพิ่มเติม Poperty หรือ Method เดิมได้ตามความเหมาะสมPolymorphism เป็นคุณสมบัติที่ว่า สามารถเปลี่ยนแปลงความสามารถ ของ Class ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น เราสร้าง Class ที่ชื่อว่า Shape ซึ่งจะใช้สร้าง Object เป็นรูปทรงต่างๆ เช่น วงกลม, สามเหลี่ยม และ สี่เหลี่ยม เป็นต้น แล้วเราก็มี Method Area เพื่อหาพื้นที่ของรูปทรงต่างๆ แน่นอนว่า Method Area ของการเรียกใช้งานแต่ละครั้ง ต้องคำนึงด้วยว่า เราระบุ Poperty ของรูปทรงว่าเป็นรูปทรงอะไร ซึ่งจะทำให้เรามีวิธีการคำนวนหา ที่แตกต่างกันนั่นเอง

วันศุกร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งข้อสอบเราท์เตอร์

เราท์เตอร์

1.เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อะไร
ก.เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
ข.เชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่าย
ค.ลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง
ง.ไม่มีข้อถูก

2.เกตเวย์เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายเเบบไหน
ก.เชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่าย
ข.เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน
ค.ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน
ง.ถูกทุกข้อ

3.การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทไหน
ก.lg
ข.cp
ค.pc
ง.gl

4.เกตเวย์เชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซีเข้ากับประเภทไหน
ก.ประเภทพีชี(pc)
ข.ประเภทแมคอินทอช (MAC)
ค.ประเภคเเอลจี (lg)
ง.ประเภทจีเเอล(gl)

5.โมเดลเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อะไร
ก.ส่งสัญญาณผ่าน สายโทรศัพท์เพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ข.แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์
ค.ติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง.ถูกทุกข้อ

เฉลย
1.ก
2.ค
3.ค
4.ข
5.ข

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โปรโตคลอ

โปรโตคอลประยุกต์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันเป็นจำนวนมาก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีหลายมาตรฐานหลายยี่ห้อ แต่ก็สามารถจะทำงานร่วมกันได้อย่างดี การที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพราะมีการใช้โปรโตคอลมาตรฐานที่มีข้อกำหนดให้ทำงานร่วมกันได้
สมมุติว่าเราใช้อินเทอร์เน็ตผู้ใช้พีซีทำหน้าที่เป็นไคลแอนต์ (Client) สามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) บนเครือข่าย การทำงานของพีซีที่เชื่อมต่อร่วมกันเซิร์ฟเวรอ์ ต้องใช้โปรโตคอลเพื่อประยุกต์ใช้งานรับส่งข้อมูล
ตัวอย่างเช่น เมื่อใช้บราวเซอร์ (Browser) อย่างโปรแกรม เช่น Netscape หรือ Internet Explorer เรียกดูข้อมูล โปรแกรมบราวเซอร์ดังกล่าว จะใช้โปรโตคอล HTTP-Hypertext Transfer Protocol ซึ่งโปรโตคอลนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์ส่งข้อมูลมาให้บราวเซอร์ตามต้องการ และบราวเซอร์จะนำข้อมูลมาแสดงผลบนจอภาพได้อย่างถูกต้อง มาตรฐานและรูปแบบการรับส่งข้อมูลจึงต้องได้รับการกำหนดและเป็นที่ยอมรับระหว่างกัน
การติดต่อระหว่างบราวเซอร์กับเซิร์ฟเวอร์ย่อมต้องเปิดช่องสื่อสารระหว่างกันช่องสื่อสารทั้งสองฝั่งมีช่องหมายเลขกำกับ ซึ่งเราเรียกว่า "พอร์ต (Port)" และพอร์ตนี้ได้รับการกำกับดูแลด้วยโปรโตคอลหนึ่งที่มี ชื่อว่า TCP (Transfer Control Protocol) TCP จึงทำให้เครื่องเซิร์ฟเวอร์บริการไคลแอนต์ได้หลาย ๆ ไคลแอนต์พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เมื่อผู้ใช้ทางฝั่งไคลแอนต์ใช้โปรแกรมแบบมัลติทาสกิ้ง (Multitasking) เช่น วินโดว์ 95ก็สามารถเปิดหลาย ๆงานบนเครื่องเดียวกัน เพราะผ่านพอร์ตต่างกัน
คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ในระดับ OS จึงมีการกำหนดหมายเลขพอร์ตเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกันได้ การเชื่อมระหว่างกันจึงทำได้ในลักษณะเครือข่ายที่เชื่อมโยงผ่านถนนสายเดียวกัน
การที่คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งส่งข้อมูลไปยังอีกเครื่องหนี่งได้ถูกต้องเพราะมีโปรโตคอลที่ใช้ในการหาตำแหน่งซึ่งในกรณีนี้ใช้โปรโตคอลอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล หรือที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ส่วน IP นี้มีการกำหนดแอดเดรสของคอมพิวเตอร์ที่เราเรียกว่า ไอพีแดเดรส(IP Address) อีกต่อหนึ่ง
หากนำการประยุกต์อื่นมาพิจารณา เช่น การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่าย ผู้เขียนจดหมายใช้โปรแกรมเอดิเตอร์ (Editor) เขียนจดหมายเมื่อเขียนเสร็จแล้วมีการจ่าหน้าถึงแอดเดรสปลายทาง ข้อความหรือจดหมายฉบับนั้น จะรับส่งกันด้วยโปรแกรมรับส่งเมล์ (Sendmail Program)
โปรแกรมนี้ใช้โปรโตคอลมาตรฐาน ชื่อ SMIP - Simple Mail Transfer Protocol ลักษณะการรับส่งในระดับ SMTP มีการกำหนดให้เครื่องใดเครื่องหนึ่งเชื่อมกับเครื่องอื่น ในฐานะที่เป็นตัวแลกเปลี่ยนจดหมายหรือที่เรียนว่า Mail Exchange ตัวแลกเปลี่ยนจดหมายจะตรวจสอบแอดเดรสของจดหมาย และนำส่งต่อกันจนถึงปลายทาง
เช่นเดียวกับการประยุกต์อื่น การรับส่งจดหมายระหว่างเครื่องจะเปลี่ยนจดหมายให้อยู่ในรูปแพ็กเก็ต ระดับTCP และเปิดพอร์ตระหว่างเครื่องให้เชื่อมโยงกัน การเชื่อมระหว่างพอร์ตใช้วิธีนำข้อมูลใส่ในแพ็กเก็ต IP แล้วส่งด้วยโปรโตคอล IP ต่อไป
ปัจจุบันมีโปรโตคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย ผู้พัฒนาการประยุกต์จะกำหนดขึ้นมา และถ้ายอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวางก็จะเป็นมาตรฐาน เช่น การโอนย้ายแฟ้มระหว่างกัน ใช้โปรโตคอบชื่อ FTP - File Transfer Protocol การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันก็ใช้โปรโตคอลชื่อ NNP - Network News Transfer Protocol ยิ่งในตอนหลังมีการประยุกต์ทางด้านมัลติมีเดียมากขึ้นจึงมีการกำหนดโปรโตคอล สำหรับการประยุกต์นั้น ๆ เช่น การส่งสัญญาณเสียงการส่งวีดีโอ การทำวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ การสร้างอนเทอร์เน็ตโฟน ฯลฯ
การทำงานของเครื่อข่ายใช้มาตรฐานโปรโตคอลต่าง ๆ ร่วมกันทำงานมากมาย
นอกจากโปรโตคอลระดับประยุกต์แล้ว การดำเนินการภายในเครือข่าย ยังมีโปรโตคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น โดยที่ผู้ใช้ไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรงอีกมากมาย อาทิเช่น ภายในเครือข่ายมีอุปกรณ์สื่อสารประกอบอยู่มากมาย เช่น มีเราเตอร์ สวิตชิ่งต่าง ๆ และมีการเชื่อมโยงอุปกรณ์เหล่านั้นในเครือข่าย ทั้งที่อยู่ในองค์กรและต่างองค์กร อุปกรณ์เหล่านี้จะมีการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเพื่อหาเส้นทางที่เหมาะสมมีการสอบถามข้อมูลกันตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้ในการทำเส้นทาง เช่น RIP - Routing Information Protocol,OSPF - Open Shortest Path First, BGP - Border Gateway Protocol เป็นต้น
โปรโตคอลกลุ่มนี้เป็นการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันอย่างอัตโนมัติ ทั้งนี้เพราะ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีลักษณะที่ไม่คงที่ตลอดเวลา เช่น ถ้ามีอุปกรณ์หนึ่งเสียงก็จะหาเส้นทางใหม่ที่เหมาะสมได้
นอกจากนี้ยังมีโปรโตคอลที่สำคัญสำหรับการสอบถามข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่มีประโยชน์มาก โปรโตคอลนี้มีชื่อว่า ICMP - Internet Control Message Protocol เช่น ถ้าต้องการอยากรู้ว่าอุปกรณ์นี้ยังเชื่อมต่ออยู่ในเครืองข่ายหรือไม่ ก็ใช้ ICMP สอบถามดูได้เช่นกัน
จะเห็นได้ชัดว่า การใช้ว่าเครือข่ายได้ผลดีในทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการพัฒนาโปรโตคอลต่างๆขึ้นใช้งาน และการใช้งาน และการใช้งานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโปรโตคอลต่างๆหลายโปรโตคอลทำงานร่วมกัน
ข้อสอบ ATM
1.ATM มาจากคำว่าอะร
ก. Asynchronous Transfer Mode
ข.ATMMulti-Media
ค.Asynchronous
ง.ถูกทุกข้อ

2.ระบบโทรศัพท์ดิจิตอลแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา เรียกว่าอะไร
ก.(Time Domain Multiplexing : TDM)
ข.(Time Domain Multiplexing : TDM) กับระบบ Packet Switching systems
ค. Packet Switching systems
ง.(Continous Bit Rate : CBR

3.TDM ที่เรานิยมใช้กันอีกอย่างในตอนนี้ก็คืออะไร
ก. Leased Line
ข.Fixed Bandwidth
ค.Continous Bit Rate : CBR
ง.Synchronous Transfer Mode

4.มาตรฐานของยุโรปก็มีระดับของการมัลติเพล็กซ์เป็นเท่าไทร่
ก.2 .048, 8.448,
ข.34 m
ค. 8.448,
ง.10 m

5.ATM เป็นแบบ connection-oriented จะมีการสร้าง connectionอย่างไร
ก.จากต้นทาง
ข.จากปลายทาง
ค.จากต้นทาง-ปลายทาง
ง.ข้อกและข้อข.ถูก

6.สนทนาเสร็จแล้วก็มีการกล่าวคำลาและวางหูเป็นการปิดอะไร
ก. connection
ข.IP Network
ค.QoS (Quality of Service)
ง.Service

7.QoS (Quality of Service)ทำหน้าที่อะไร
ก.รับประกันคุณภาพของการส่งข้อมูลในแต่ละ connection
ข.วิ่งไปยังปลาย
ค.ส่งจดหมาย
ง.วิ่งไปยังปลายเเละส่งจดหมาย



เฉลย
1.ก
2.ข
3.ก
4.ก
5.ค
6.ก
7.ก

วันศุกร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ส่งงาน Visual Basic.NET

ข้อสอบVisual Basic.NET

1.Visual Basic.NET เป็นภาษาที่พัฒนามาจากอะไร
ก.Visual Basic 6.0 หรือVisual Basic Version 7
ข.Visual Basic.NET
ค.Microsoft Studio.NET
ง.ถูกทุกข้อ

2.ใน VB.NET มีชนิดของโปรเจ็กต์กี่ชนิด
ก.15 ชนิด
ข.14 ชนิด
ค.12 ชนิด
ง.10 ชนิด

3.เมนูบาร์ ประกอบไปด้วยเมนูทำงานกับ อะไร
ก.File, View และ Windows
ข.File, View
ค.Windows
ข.ข้อกเเละข้อข.ถูก

4. เมดธอด (Method)คืออะไร
ก. สั่งให้ฟอร์ม และคอนโทรลทำงานตามที่เราร้องขอไป
ข.กำหนดลักษณะต่างๆ
ค. เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฟอร์ม หรือคอนโทรลที่เราสามารถใส่คำสั่งเพื่อตอบสนองได้
ง.คลาส และชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดต่อฐานข้อมูลพื้นฐาน

5.System.Diagnosticsคือคลาสอะไร
ก.คลาส และชนิดข้อมูลที่เกี่ยวกับการติดต่อฐานข้อมูลพื้นฐาน
ข.คลาสที่ใช้ในการดีบักแอพพลิเคชั่น และตรวจสอบการทำงานของโค้ด
ค.ตรวจสอบการทำงานของโค้ด
ง.คลาสที่ทำให้เราสามารถอ่าน และเขียนไฟล์ได้

เฉลย
1.ก
2.ค
3.ก
4.ก
5.ข